นวัตกรรมการป้องกันและช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะหลุดจากระบบการศึกษา

หลักการและเหตุผล

ภายใต้บริบทของประเทศไทย ในปี 2561 มีเด็กไทยเป็นสมาธิสั้นกว่า 1 ล้านคน และกว่า 50 % ของเด็กสมาธิสั้น มีปัญหาสุขภาพจิต หากปล่อยไว้จะทำให้เกิดการต่อต้านสังคม เกเร ใช้ความรุนแรง เสี่ยงติดยาเสพติด และเกิดภาวะอาการซึมเศร้า เทศบาลนครขอนแก่น มีสถานศึกษา 11 โรงเรียน และ 11 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากการคัดกรองเด็ก 9,206 คน พบว่ามีเด็กกลุ่มเสี่ยง จำนวน 535 คน (5.81%) แยกเป็นสมาธิสั้น 205 คน (38.32 %), พฤติกรรมด้านอารมณ์ 62 คน (11.59 %), พฤติกรรมเกเร 58 คน (10.84 %), พฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง 88 คน (16.45 %) และสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนไม่ได้ 122 คน (22.80 %) ได้มีการแก้ไขปัญหาโดย ได้รับการรักษาจากแพทย์ (กินยา) ร่วมกับการปรับพฤติกรรมโดยคำแนะนำของแพทย์ ผู้ปกครองช่วยปรับพฤติกรรมเมื่ออยู่บ้าน ครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียนช่วยปรับพฤติกรรมเมื่ออยู่ที่โรงเรียน ทำให้เด็กมีอาการและพฤติกรรมดีขึ้น เรียนร่วมกับเพื่อนได้ 487 คน สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระต่อสังคมไทยในอนาคต

วัตถุประสงค์

  • คัดกรองเด็กทุกคนในโรงเรียนสังกัด เพื่อค้นหาเด็กกลุ่มเสี่ยง
  • ป้องกันเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา ให้ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และตรงตามสภาพปัญหารายบุคคล
  • ให้การช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง โดยการดูแล รักษา ปรับพฤติกรรม ให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาพจิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤติทั้งปวง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระสังคม
  • กลุ่มเป้าหมาย

    • กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะหลุดจากระบบการศึกษา โดยคัดกรองนักเรียนทั้งหมด 9,206 คน พบว่า ต้องรักษาและปรับพฤติกรรม 535 คน คิดเป็น 5.81 % แยกกลุ่มเป็น
    • 1. สมาธิสั้น 205 คน ได้รับการปรับพฤติกรรมร่วมกับการรักษา (กินยา) มีพฤติกรรมดีขึ้น เรียนร่วมกับเพื่อนได้ 184 คน (89.76 %)
    • 2. พฤติกรรมด้านอารมณ์ 62 คน ได้รับการรักษา (กินยา) และปรับพฤติกรรม ไม่ก้าวร้าว ไม่ใช้อารมณ์ขณะอยู่ร่วมกับเพื่อน 58 คน (93.55 %)
    • 3. พฤติกรรมเกเร 58 คน ได้รับการปรับพฤติกรรม มีพฤติกรรมดีขึ้น ไม่เกเร อยู่ร่วมกับเพื่อนและเรียนหนังสือได้ดีขึ้น 52 คน (89.65 %)
    • 4.พฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง 88 คน ครูและพ่อแม่ ปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำแพทย์ มีอาการนิ่งมากขึ้น เรียนหนังสือและอยู่ร่วมกับเพื่อนได้ 75 คน (85.22 %)
    • 5.สัมพันธภาพกับเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนไม่ได้ 122 คน ได้รับการปรับพฤติกรรม โดยครู เพื่อนและพ่อแม่ มีสัมพันธภาพกับเพื่อนมากขึ้น อยู่ร่วมกับเพื่อนได้ 118 คน (96.72 %)
    • นวัตกรรมช่วยปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ ให้กลุ่มเสี่ยงทั้ง 5 กลุ่ม มีพัฒนาการดีขึ้น ไม่หลุดออกจากระบบการศึกษา 487 คน คิดเป็น 91.03%

    วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินการ

    1. ประชุมวางแผนการทำงานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลเด็กที่มีปัญหา การเรียนโดยครู–หมอ – พ่อแม่ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2567 เพื่อกำหนดการจัดโครงการแนวทางการดำเนินงาน
    2. เขียนโครงการฯ เพื่อเสนออนุมัติ
    3. ประชุมมอบหมายงานตามภารกิจ/หน้าที่กำหนด
    4. ดำเนินการตามห้วงเวลาที่กำหนด
    5. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

      • เด็กวัยเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่นที่มีปัญหาการเรียน ได้รับบริการส่งเสริมทักษะชีวิต ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู ปัญหาสุขภาพจิตอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
      • เกิดระบบการคัดกรอง ส่งเสริม ป้องกัน และส่งต่อ เด็กวัยเรียนที่มีปัญหาการเรียนอย่างยั่งยืน
      • ครู และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในปัญหาการเรียน ปัญหาสุขภาพจิต และมีทักษะ สามารถจัดการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของเด็กนักเรียนได้
      • เกิดเครือข่ายครู และผู้ปกครอง ที่ทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง

    ขั้นตอนกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ

    • กระบวนการคัดกรอง
      • 1. ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบเครื่องมือคัดกรองนักเรียน โดยเทศบาล ครู แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และโปรแกรมเมอร์ ร่วมกันออกแบบ (มีนาคม-เมษายน 2566)
      • 2. เทศบาลนครขอนแก่นและโรงเรียน ประชุมผู้ปกครองชี้แจงการคัดกรองนักเรียนทุกคน ในวันประชุมผู้ปกครองของทุกโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียน (1-15 พฤษภาคม 2566)
      • 3. ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลขอนแก่นและสถาบันสุขภาพจิตฯ ร่วมเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้ครูเรื่องการดูแล สังเกตปรับพฤติกรรม และการคัดกรองเด็ก (เดือนมิถุนายน 2566)
      • 4. ครูคัดกรองนักเรียนทุกคน (1-10 พฤศจิกายน 2566)
      • 5. แพทย์ลงพื้นที่โรงเรียนในสังกัดฯ โดยสถานพยาบาลในเขตพื้นที่ตามข้อตกลง MOU ร่วมกับเทศบาล ในการดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง มีการประชุมผู้ปกครองเพื่อทำความเข้าใจในการวินิจฉัยอาการและคัดกรองซ้ำโดยครูประจำชั้นและผู้ปกครองให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแบ่งกลุ่มดูแลช่วยเหลือ คือ กลุ่มที่ต้องดูแลรักษา (กินยา) และกลุ่มที่ต้องปรับพฤติกรรม (ธันวาคม 2566)
    • กระบวนการดูแล รักษา
      • 6. ดูแลและปรับพฤติกรรมเด็กกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่ต้องดูแลรักษา (กินยา) และปรับพฤติกรรมโดยแพทย์ กลุ่มที่ต้องปรับพฤติกรรมโดยครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียนช่วยปรับพฤติกรรมที่โรงเรียน พ่อแม่ช่วยปรับพฤติกรรมที่บ้าน ตามคำแนะนำของหมอ (มกราคม-15 มีนาคม 2567)
    • กระบวนการติดตามประเมินผล
      • 7. การติดตามประเมินผล โดยครูสังเกตพฤติกรรมที่โรงเรียนและติดตามผลการรักษาจากแพทย์ แล้วรายงานเทศบาล (มกราคม-30 มีนาคม 2567)
      • 8. นำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเทศบาล ผู้บริหารโรงเรียนและครู ร่วมกันวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพต่อไป (เมษายน 2567)

    การติดตามประเมินผล

    กลุ่มที่ต้องดูแลรักษาโดยแพทย์
    • ติดตามผลโดยครูสังเกตอาการและพฤติกรรมในขณะเด็กอยู่ในโรงเรียน และออกเยี่ยมบ้านสอบถามอาการเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง
    • ออกนิเทศติดตามของต้นสังกัด และสังเกตพฤติกรรมเด็กในชั้นเรียน ในขณะที่ออกติดตามเยี่ยมชั้นเรียน
    • ขอข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ปกครองที่นำเด็กไปพบแพทย์
    • ครูติดตามและกรอกข้อมูลในระบบ App Care ถึงการรักษาต่อเนื่องและไม่รักษาต่อเนื่อง เกิดจากสาเหตุใด เพื่อนำมาวางแผนให้ความช่วยเหลือต่อไป เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านเวลา ปัญหาด้านความเข้าใจ ฯลฯ
    กลุ่มที่ปรับพฤติกรรม
    • ติดตามผลโดยครูสังเกตอาการและพฤติกรรมในขณะเด็กอยู่ในโรงเรียน และออกเยี่ยมบ้านสอบถามอาการเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง
    • ออกนิเทศติดตามของต้นสังกัด และสังเกตพฤติกรรมเด็กในชั้นเรียน ในขณะที่ออกติดตามเยี่ยมชั้นเรียน
    • ครูติดตามและกรอกข้อมูลในระบบ App Care ถึงการรักษาต่อเนื่องและไม่รักษาต่อเนื่อง เกิดจากสาเหตุใด เพื่อนำมาวางแผนให้ความช่วยเหลือต่อไป เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านเวลา ปัญหาด้านความเข้าใจ ฯลฯ