




เทศบาลนครขอนแก่นถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กับทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมนครเป็งจาล เทศบาลนครขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ร่วมถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กับทีมนักวิจัยโครงการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย อาจารย์จุฑาลักษณ์ แสนโท และ อาจารย์ประพัฒน์พงศ์ ปรีชา โดยมี นายณัฐกร ศรีนวกุล เลขานุการนายกเทศมนตรี,นายมานพ ช่องตะคุ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา,นายวิทยา ภูโยสาร ปลัดเทศบาล,นางกฤษณา แสนสอาด รองปลัดเทศบาล,นายทศพล วงศ์อาษา ผู้อำนวยการสำนักช่าง,นายอาทิตย์ แก้วมณี ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา,น.ส.สมพร ชัยอยุทธ์ ผู้อำนวยการส่วนบริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม,นายธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการส่วนควบคุมการก่อสร้างอาคารและผังเมือง,นายศรัณย์ เปานาเรียง ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,นางวทัญญุตา ธวัชโชติ ผู้อำนวยการส่วนสังคมสงเคราะห์,นางอินทิรา ฆารเจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ,นายมานพ ช่องตะคุ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษานายแพทย์ชาญณรงค์ ชัยอุดมสม ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น, น.ส.ปาณิสรา นันตะวงษ์ นักวิชาการ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น,ผู้ปกครอง นักเรียนและพนักงานครูและพนักงานเทศบาลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม การถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในครั้งนี้ ด้วย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดย สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รณรงค์ จันใด อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ ดำเนินการโครงการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับเงินรางวัลจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และ เทศบาลนครขอนแก่น ได้รับรางวัลตามผลการคัดเลือกของคณะอนุกรรมการเพื่อคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รางวัลที่ 1 ในประเภทโดดเด่น และในขั้นตอนการถอดบทเรียนเพื่อให้เห็นถึงบทเรียนที่ดีและปัจจัยความสำเร็จ เพื่อถอดเป็นโมเดลต้นแบบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ และนำไปเผยแพร่เป็นบทความทางวิชาการทั้งในแบบเล่มและเผยแพร่ทางออนไลน์ สำหรับการถอดบทเรียนในครั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์ในรูปแบบการสนทนาสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (focus group) ในประเด็น 2 ได้แก่ 1.โครงการนวัตกรรม 1) ชื่อนวัตกรรม 2) วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม 3) สภาพแวดล้อมและบริบทของพื้นที่ 4) สภาพปัญหาเริ่มต้นและความต้องการของประชาชน 5) กระบวนการของนวัตกรรม 6) ความเป็นนวัตกรรม 7)ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น 😎 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 9) อุปสรรคและความท้าทายของการขับเคลื่อนโครงการนวัตกรรม 10) ความยั่งยืนของโครงการนวัตกรรม 11) แนวทางการต่อยอดและการเผยแพร่นวัตกรรม โดยการสัมภาษณ์ให้ความสำคัญในหัวข้อ ปัญหาที่จุดประกายให้เกิดนวัตกรรม ทั้งนี้เทศบาลนครขอนแก่นและเครือข่ายได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และกระบวนการดำเนินงานแบบบูรณาการ ในการพัฒนาแอพ “Care” โดยปัจจัยหลักของความสำเร็จคือความร่วมมือ 2.การบริหารจัดการที่ดี 1) ผลสำเร็จด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2) ผลสำเร็จด้านความรับผิดชอบของ อปท. และการตอบสนองต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 3) ผลสำเร็จด้านความโปร่งใสของ อปท. 4) ผลสำเร็จด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน 5) ผลสำเร็จด้านความมีนิติธรรมและการกระจายอำนาจของ อปท. 6) ผลสำเร็จด้านความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 7) ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการบริหารจัดการที่ดี 😎 อุปสรรคและความท้าทายในการบริหารจัดการที่ดี 9) ความยังยืนและแนวทางการต่อยอดเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น นอกจากนี้ในที่ประชุมได้มีการนำเสนอมุมมองในการพัฒนาท้องถิ่นในหลากหลายมิติ เพื่อเป็นการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน นายกเทศมนตรีนครขอนแก่นได้เน้นย้ำถึงแนวทางด้านการบริหารจัดการที่ดี คือการเรียนรู้จากการถอดบทเรียนการทำงานขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งและนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของแต่ละพื้นที่ รวมถึงเทศบาลนครขอนแก่นจะมีการต่อยอดโครงการ ครู-หมอ-พ่อแม่ ด้วยการนำเสนอแนวทางการดำเนินงานโครงการให้กับหน่วยงานต่างๆที่มีโอกาสมาศึกษาดูงาน สำหรับความคืบหน้าในการจัดทำบทความทางวิชาการ เพื่อรวบรวมเป็นโมเดลต้นแบบความสำเร็จรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ทางเทศบาลนครขอนแก่นจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป